หมอเตือนอย่าสูบกัญชา ภัยสุขภาพ ควรใช้ทางการแพทย์เท่านั้น
หมอเตือนอย่าสูบกัญชา ภัยสุขภาพ ควรใช้ทางการแพทย์เท่านั้น
นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยในวันที่ 30 ธ.ค. 2565 ว่า ช่วงเทศกาล
ปีใหม่ซึ่งประชาชนมีการรวมตัวกันเฉลิมฉลองสังสรรค์ พบปะครอบครัว ญาติมิตร และเพื่อนฝูงรวมทั้งมีการเดินทางไกลท่องเที่ยวและกลับภูมิลำเนาเพื่อเป็นการพักผ่อนในช่วงวันหยุดยาวหลังจากการทำงานมาตลอดทั้งปี จึงมีคำแนะนำให้งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และของมึนเมาก่อนและระหว่างการขับขี่ยานพาหนะเพื่อลดอุบัติเหตุ รวมทั้งปฏิเสธและหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดทุกชนิด โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนที่เป็นวัยอยากรู้อยากลอง มีพฤติกรรมตามเพื่อนในการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ไฟฟ้า การใช้สารเสพติดอื่นๆ อันก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพประกอบกับท่ามกลางความวิตกกังวลของหลายฝ่ายในการคาดการณ์ว่าสถานการณ์การใช้กัญชาในเยาวชนจะเพิ่มสูงขึ้นภายหลังนโยบายปลดล็อกกัญชาพร้อมกันนี้ กรมการแพทย์เปิดเผยข้อมูลการเข้ารับการรักษาผู้มีปัญหาการใช้ยาเสพติดในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2563-2565 พบว่า กลุ่มอายุที่เข้ารับในช่วง 18-24 ปี จากข้อมูลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ (บสต) เป็นผู้ที่เสพกัญชา ดังนี้ ปี 2562 ร้อยละ 6.89 ปี 2563 ร้อยละ 4.85 ปี 2564 ร้อยละ 4.28 ปี 2565 ร้อยละ 3.85 ทั้งนี้ จะเห็นว่ามีแนวโน้มลดลงตามลำดับ ไม่ได้เพิ่มมากขึ้นอย่างที่หลายฝ่ายเป็นกังวลใจ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศห้ามสูบกัญชาในที่สาธารณะเนื่องจากกลิ่นและควันเป็นเหตุก่อความรำคาญตาม พ.ร.บ.กระทรวงสาธารณสุข และได้มีการบังคับใช้กฎหมายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องสมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ. 2565 กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ห้ามจำหน่ายช่อดอกกัญชาหรือแปรรูปกัญชาเพื่อการค้าให้แก่ ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร นักเรียน นิสิต นักศึกษา, ห้ามจำหน่ายช่อดอกกัญชาหรือสินค้าแปรรูปจากช่อดอกกัญชา เพื่อการค้าผ่านเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์, ห้ามจำหน่ายช่อดอกกัญชาในวัด หอพัก สวนสาธารณะ สวนสัตว์ สวนสนุก ห้ามจำหน่ายตามรถเร่ ตลาดนัด แผงลอย, ห้ามโฆษณาช่อดอกกัญชาในทุกช่องทางเพื่อการค้า และห้ามใส่ช่อดอกกัญชาในอาหาร เพราะจะส่งผลอันตรายต่อร่างกาย"ขอเน้นย้ำว่ากัญชาควรใช้ในทางการแพทย์เท่านั้นไม่สนับสนุนให้มีการสูบหรือใช้ในทางสันทนาการเพราะทำให้เกิดอันตราย เช่น มึนเมา ใจสั่น เป็นพิษต้องเข้าโรงพยาบาล และอาจทำให้ผิดกฎหมายด้วยเช่นกัน"ทางด้าน นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่ผ่านมาพบว่าในช่วงเทศกาลวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ จะมีการเลี้ยงสังสรรค์โดยมีการดื่มแอลกอฮอล์สูบบุหรี่ และการใช้สารเสพติด เนื่องจากมีการชักชวนจากกลุ่มเพื่อน และสามารถเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ได้สะดวก ง่ายดาย ทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบในการใช้สารเสพติด ขณะที่กัญชายังมีความเข้าใจผิดในการนำมาใช้แม้ในประเทศไทยกัญชาจะไม่ใช่ยาเสพติดให้โทษแล้ว แต่ควรระมัดระวังในการใช้กัญชาในจุดประสงค์อื่นๆ นอกจากทางการแพทย์ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และสตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้กัญชา เพราะอาจส่งผลต่อสมองและร่างกาย เช่น พัฒนาการล่าช้า ปัญหาพฤติกรรม เชาวน์ปัญญาลดลง และส่งผลต่ออารมณ์และจิตใจ มีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคจิตเภท รวมถึงส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายด้วยดังนั้น จึงขอความร่วมมือผู้ปกครอง สังคม เครือข่ายต่างๆ ในการสอดส่องดูแลให้ความรัก รวมถึงให้ความรู้ถึงอันตรายและพิษภัยต่างๆ จึงขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงสิ่งมึนเมาและยาเสพติดทุกชนิด เพื่อเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่ดีให้แก่ตนเองและคนที่รัก.
ปีใหม่ซึ่งประชาชนมีการรวมตัวกันเฉลิมฉลองสังสรรค์ พบปะครอบครัว ญาติมิตร และเพื่อนฝูงรวมทั้งมีการเดินทางไกลท่องเที่ยวและกลับภูมิลำเนาเพื่อเป็นการพักผ่อนในช่วงวันหยุดยาวหลังจากการทำงานมาตลอดทั้งปี จึงมีคำแนะนำให้งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และของมึนเมาก่อนและระหว่างการขับขี่ยานพาหนะเพื่อลดอุบัติเหตุ รวมทั้งปฏิเสธและหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดทุกชนิด โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนที่เป็นวัยอยากรู้อยากลอง มีพฤติกรรมตามเพื่อนในการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ไฟฟ้า การใช้สารเสพติดอื่นๆ อันก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพประกอบกับท่ามกลางความวิตกกังวลของหลายฝ่ายในการคาดการณ์ว่าสถานการณ์การใช้กัญชาในเยาวชนจะเพิ่มสูงขึ้นภายหลังนโยบายปลดล็อกกัญชาพร้อมกันนี้ กรมการแพทย์เปิดเผยข้อมูลการเข้ารับการรักษาผู้มีปัญหาการใช้ยาเสพติดในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2563-2565 พบว่า กลุ่มอายุที่เข้ารับในช่วง 18-24 ปี จากข้อมูลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ (บสต) เป็นผู้ที่เสพกัญชา ดังนี้ ปี 2562 ร้อยละ 6.89 ปี 2563 ร้อยละ 4.85 ปี 2564 ร้อยละ 4.28 ปี 2565 ร้อยละ 3.85 ทั้งนี้ จะเห็นว่ามีแนวโน้มลดลงตามลำดับ ไม่ได้เพิ่มมากขึ้นอย่างที่หลายฝ่ายเป็นกังวลใจ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศห้ามสูบกัญชาในที่สาธารณะเนื่องจากกลิ่นและควันเป็นเหตุก่อความรำคาญตาม พ.ร.บ.กระทรวงสาธารณสุข และได้มีการบังคับใช้กฎหมายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องสมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ. 2565 กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ห้ามจำหน่ายช่อดอกกัญชาหรือแปรรูปกัญชาเพื่อการค้าให้แก่ ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร นักเรียน นิสิต นักศึกษา, ห้ามจำหน่ายช่อดอกกัญชาหรือสินค้าแปรรูปจากช่อดอกกัญชา เพื่อการค้าผ่านเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์, ห้ามจำหน่ายช่อดอกกัญชาในวัด หอพัก สวนสาธารณะ สวนสัตว์ สวนสนุก ห้ามจำหน่ายตามรถเร่ ตลาดนัด แผงลอย, ห้ามโฆษณาช่อดอกกัญชาในทุกช่องทางเพื่อการค้า และห้ามใส่ช่อดอกกัญชาในอาหาร เพราะจะส่งผลอันตรายต่อร่างกาย"ขอเน้นย้ำว่ากัญชาควรใช้ในทางการแพทย์เท่านั้นไม่สนับสนุนให้มีการสูบหรือใช้ในทางสันทนาการเพราะทำให้เกิดอันตราย เช่น มึนเมา ใจสั่น เป็นพิษต้องเข้าโรงพยาบาล และอาจทำให้ผิดกฎหมายด้วยเช่นกัน"ทางด้าน นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่ผ่านมาพบว่าในช่วงเทศกาลวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ จะมีการเลี้ยงสังสรรค์โดยมีการดื่มแอลกอฮอล์สูบบุหรี่ และการใช้สารเสพติด เนื่องจากมีการชักชวนจากกลุ่มเพื่อน และสามารถเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ได้สะดวก ง่ายดาย ทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบในการใช้สารเสพติด ขณะที่กัญชายังมีความเข้าใจผิดในการนำมาใช้แม้ในประเทศไทยกัญชาจะไม่ใช่ยาเสพติดให้โทษแล้ว แต่ควรระมัดระวังในการใช้กัญชาในจุดประสงค์อื่นๆ นอกจากทางการแพทย์ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และสตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้กัญชา เพราะอาจส่งผลต่อสมองและร่างกาย เช่น พัฒนาการล่าช้า ปัญหาพฤติกรรม เชาวน์ปัญญาลดลง และส่งผลต่ออารมณ์และจิตใจ มีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคจิตเภท รวมถึงส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายด้วยดังนั้น จึงขอความร่วมมือผู้ปกครอง สังคม เครือข่ายต่างๆ ในการสอดส่องดูแลให้ความรัก รวมถึงให้ความรู้ถึงอันตรายและพิษภัยต่างๆ จึงขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงสิ่งมึนเมาและยาเสพติดทุกชนิด เพื่อเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่ดีให้แก่ตนเองและคนที่รัก.
Comments
Post a Comment